เนื้อหาของวรรณคดีไทย
อิศรญาณภาษิต
ผู้ประพันธ์ หม่อมเจ้าอิศรญาณ (ไม่ทราบพระนามเดิม) เป็นโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ พระองค์ทรงผนวชที่วัดบวรนิเวศ มีพระนามฉายาว่า อิสสรญาโณ มีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
อิศรญาณภาษิตมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ หรือ ภาษิตอิศรญาณ
ลักษณะคำประพันธ์ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท กลอนเพลงยาว ซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่จะขึ้นบทแรกด้วยวรรครับ และจบด้วยคำว่า เอย
อิศรญาณภาษิตมีเนื้อหาที่เป็นคำสั่งสอนแบบเตือนสติ และแนะนำเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติให้เป็นที่พอใจของผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจมากกว่า สอนว่าควรจะทำอย่างไรจึงจะอยู่ในสังคมได้โดยปราศจากภัยแก่ตน ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จสมหวัง บางตอนก็เน้นเรื่องการเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่น โดยไม่สบประมาทหรือดูแคลนกัน ทั้งนี้ การสอนบางครั้งอาจเป็นการบอกตรงๆ หรือบางครั้งก็สอนโดยคำประชดประชันเหน็บแนมซึ่งอาจเป็นเพราะชาวบ้านพากันกล่าวว่าพระจริตของหม่อมเจ้าอิศรญาณไม่ค่อยปกตินัก คาดว่าหากเป็นสมัยนี้ คงจะเห็นว่าท่านเพี้ยนๆ ไม่ใช่เสียสติ ครั้งหนึ่งทรงทำอะไรวิปริตไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสประภาษว่า "บ้า" คนอื่นๆ ก็พลอยเห็นตามนั้นไปด้วย หม่อมเจ้าอิศรญาณ น้อยพระทัย จึงทรงแต่งเรื่องนี้ขึ้นเป็นภาษิต ในตอนหนึ่งมีทำนองเปรียบเปรยกระทบเรื่องนี้ว่า
เจ้าว่างามก็ต้องงามไปตามเจ้า ก็ใครเล่าจะไม่งามตามเสด็จ
บทนี้สอนว่าการคล้อยตามคนใหญ่คนโต ไม่ว่านายจะทำอะไรลูกน้องก็เห็นดีเห็นงาม ตามไปหมด เป็นเรื่องที่เห็นได้ทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าประเทศไหนหรือระบอบการปกครองแบบไหน
ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาศัย เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ
หากนักเรียนกำลังทะเลาะอยู่กับใคร ลองอ่านตอนนี้ดูบ้างอาจจะใจเย็นลงได้ เป็นบท ที่ว่าด้วยการรักษาน้ำใจกันในฐานะเพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน
อิศรญาณภาษิตมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ หรือ ภาษิตอิศรญาณ
ลักษณะคำประพันธ์ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท กลอนเพลงยาว ซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่จะขึ้นบทแรกด้วยวรรครับ และจบด้วยคำว่า เอย
อิศรญาณภาษิตมีเนื้อหาที่เป็นคำสั่งสอนแบบเตือนสติ และแนะนำเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติให้เป็นที่พอใจของผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจมากกว่า สอนว่าควรจะทำอย่างไรจึงจะอยู่ในสังคมได้โดยปราศจากภัยแก่ตน ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จสมหวัง บางตอนก็เน้นเรื่องการเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่น โดยไม่สบประมาทหรือดูแคลนกัน ทั้งนี้ การสอนบางครั้งอาจเป็นการบอกตรงๆ หรือบางครั้งก็สอนโดยคำประชดประชันเหน็บแนมซึ่งอาจเป็นเพราะชาวบ้านพากันกล่าวว่าพระจริตของหม่อมเจ้าอิศรญาณไม่ค่อยปกตินัก คาดว่าหากเป็นสมัยนี้ คงจะเห็นว่าท่านเพี้ยนๆ ไม่ใช่เสียสติ ครั้งหนึ่งทรงทำอะไรวิปริตไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสประภาษว่า "บ้า" คนอื่นๆ ก็พลอยเห็นตามนั้นไปด้วย หม่อมเจ้าอิศรญาณ น้อยพระทัย จึงทรงแต่งเรื่องนี้ขึ้นเป็นภาษิต ในตอนหนึ่งมีทำนองเปรียบเปรยกระทบเรื่องนี้ว่า
เจ้าว่างามก็ต้องงามไปตามเจ้า ก็ใครเล่าจะไม่งามตามเสด็จ
บทนี้สอนว่าการคล้อยตามคนใหญ่คนโต ไม่ว่านายจะทำอะไรลูกน้องก็เห็นดีเห็นงาม ตามไปหมด เป็นเรื่องที่เห็นได้ทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าประเทศไหนหรือระบอบการปกครองแบบไหน
ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาศัย เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ
หากนักเรียนกำลังทะเลาะอยู่กับใคร ลองอ่านตอนนี้ดูบ้างอาจจะใจเย็นลงได้ เป็นบท ที่ว่าด้วยการรักษาน้ำใจกันในฐานะเพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน
เกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้เท่า ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน อยากใช้เขาเราต้องก้มประณมกร ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ
บทนี้ว่าด้วยการรู้เท่าทันตัวเองและรู้ทันผู้อื่น จะใช้ใครทำงานก็ต้องขอไหว้วานอย่างสุภาพเขาจึงจะยินดีร่วมมือด้วย
อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว จงฟังหูไว้หูคอยดูไป เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ
บทนี้สอนให้หนักแน่นอย่าหูเบา
ถ้ารู้จริงนิ่งไว้อย่าไขรู้ เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ ไม่ควรก้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อย
บทนี้สอนในเชิงว่า “อย่าโอ้อวดข่มคนอื่น” เพราะจะไม่มีใครชอบ
ล้องูเห่าเล่นก็ได้ใจกล้ากล้า แต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อ
บทนี้เสนอแนะวิธี “ล้องูเห่าเล่น” สำหรับผู้ที่เชื่อมั่นว่าตนเองเก่งคิดจะลองดีใคร ให้ถึงที่สุด หากเชื่อมือว่าตนสามารถเอาชนะคนเก่งได้ คือต้องรู้จุดอ่อนของคนเก่งที่เราจะไป ลองดีเขาว่าจะปราบให้ลงได้ด้วยวิธีใด ถ้าไม่รู้แต่ไปลองดี อาจจะถูกตีกลับมาตายได้ง่ายๆ
เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา ใครทำตึงแล้วก็หย่อนผ่อนลงเอา นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง
บทนี้สอนให้เรารู้เท่าทันความเขลาและความบกพร่องของมนุษย์ เพื่อจะได้ฝ่าฟันอุปสรรค ให้ลุล่วงไปได้ แต่ในเวลาเดียวกันก็ให้เราเรียนรู้ที่จะประนีประนอมอยู่ร่วมกับคนเหล่านั้น อย่างไม่เดือดร้อนจนเกินไป
อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย น้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน
บทนี้เตือนให้เราไม่ลืมที่จะย้อนกลับมาทบทวนพิจารณาตัวเองด้วยความรอบคอบ ไม่ใช่แต่จะคอยเพ่งมองแต่ความดีหรือไม่ดีของคนอื่นฝ่ายเดียว
บทนี้ว่าด้วยการรู้เท่าทันตัวเองและรู้ทันผู้อื่น จะใช้ใครทำงานก็ต้องขอไหว้วานอย่างสุภาพเขาจึงจะยินดีร่วมมือด้วย
อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว จงฟังหูไว้หูคอยดูไป เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ
บทนี้สอนให้หนักแน่นอย่าหูเบา
ถ้ารู้จริงนิ่งไว้อย่าไขรู้ เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ ไม่ควรก้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อย
บทนี้สอนในเชิงว่า “อย่าโอ้อวดข่มคนอื่น” เพราะจะไม่มีใครชอบ
ล้องูเห่าเล่นก็ได้ใจกล้ากล้า แต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อ
บทนี้เสนอแนะวิธี “ล้องูเห่าเล่น” สำหรับผู้ที่เชื่อมั่นว่าตนเองเก่งคิดจะลองดีใคร ให้ถึงที่สุด หากเชื่อมือว่าตนสามารถเอาชนะคนเก่งได้ คือต้องรู้จุดอ่อนของคนเก่งที่เราจะไป ลองดีเขาว่าจะปราบให้ลงได้ด้วยวิธีใด ถ้าไม่รู้แต่ไปลองดี อาจจะถูกตีกลับมาตายได้ง่ายๆ
เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา ใครทำตึงแล้วก็หย่อนผ่อนลงเอา นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง
บทนี้สอนให้เรารู้เท่าทันความเขลาและความบกพร่องของมนุษย์ เพื่อจะได้ฝ่าฟันอุปสรรค ให้ลุล่วงไปได้ แต่ในเวลาเดียวกันก็ให้เราเรียนรู้ที่จะประนีประนอมอยู่ร่วมกับคนเหล่านั้น อย่างไม่เดือดร้อนจนเกินไป
อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย น้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน
บทนี้เตือนให้เราไม่ลืมที่จะย้อนกลับมาทบทวนพิจารณาตัวเองด้วยความรอบคอบ ไม่ใช่แต่จะคอยเพ่งมองแต่ความดีหรือไม่ดีของคนอื่นฝ่ายเดียว
เห็นแก่ลูก
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ทรงใช้พระนามแฝงว่า พระขรรค์เพชร
ลักษณะคำประพันธ์ บทละครพูดขนาดสั้น
นายล้ำ(ทิพเดชะ) เพื่อนเก่าของพระยาภักดีนฤนาถต้องโทษถูกจำคุกเป็นเวลาสิบปี เมื่อพ้นโทษก็ไปค้าขายฝิ่นกับจีนกิมจีนเง็กที่พิษณุโลก ในที่สุดก็ถูกจับกุมส่วนนายล้ำหมอความช่วยให้พ้นคดี นายล้ำหมดตัว จึงคิดมาบอกความจริงกับลูกว่าตนคือพ่อของแม่ลออ เพื่อหวังพึ่งพิงลูกซึ่งกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำลูกเจ้าคุณรณชิต ซึ่งมีฐานะดี นายล้ำจึงมาหาพระยาภักดีเพื่อขอพบแม่ลออซึ่งแม่นวลภรรยานายล้ำ มาฝากฝังให้พระยาภักดีในฐานะคนที่เคยรักกัน ดูแลก่อนที่นางจะเสียชีวิต พระยาภักดีเตือนนายล้ำไม่ให้บอกความจริงแก่แม่ลออเพราะเกรงว่า จะทำให้แม่ลออต้องอับอายและถูกสังคมรังเกียจ นายล้ำไม่เชื่อ พระยาภักดีจึงยื่นข้อเสนอให้เงินหนึ่งร้อยชั่ง นายล้ำก็ไม่รับ พระยาภักดีโกรธหยิบแส้หางม้าเพื่อจะฟาดนายล้ำ พอดีแม่ลออกลับมา และเข้ามาทักทายนายล้ำ และคุยถึงพ่อของเธอที่พระยาภักดีบอกว่าตายไปแล้ว ว่าเป็นคนดี ใครบอกว่าเป็นคนไม่ดีจะไม่ยอมเชื่อเด็ดขาด นายล้ำเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี จึงเปลี่ยนจาก ”ความเห็นแก่ตัว” เป็น ”ความเห็นแก่ลูก” จึงไม่บอกความจริง และได้มอบแหวนของแม่นวลฝากพระยาภักดีให้แก่แม่ลออเป็นของรับไหว้และพระยาภักดีได้มอบรูปถ่ายแม่ลออ ให้นายล้ำ นายล้ำก็ลาจากไปอย่างเงียบๆ
ทรงใช้พระนามแฝงว่า พระขรรค์เพชร
ลักษณะคำประพันธ์ บทละครพูดขนาดสั้น
นายล้ำ(ทิพเดชะ) เพื่อนเก่าของพระยาภักดีนฤนาถต้องโทษถูกจำคุกเป็นเวลาสิบปี เมื่อพ้นโทษก็ไปค้าขายฝิ่นกับจีนกิมจีนเง็กที่พิษณุโลก ในที่สุดก็ถูกจับกุมส่วนนายล้ำหมอความช่วยให้พ้นคดี นายล้ำหมดตัว จึงคิดมาบอกความจริงกับลูกว่าตนคือพ่อของแม่ลออ เพื่อหวังพึ่งพิงลูกซึ่งกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำลูกเจ้าคุณรณชิต ซึ่งมีฐานะดี นายล้ำจึงมาหาพระยาภักดีเพื่อขอพบแม่ลออซึ่งแม่นวลภรรยานายล้ำ มาฝากฝังให้พระยาภักดีในฐานะคนที่เคยรักกัน ดูแลก่อนที่นางจะเสียชีวิต พระยาภักดีเตือนนายล้ำไม่ให้บอกความจริงแก่แม่ลออเพราะเกรงว่า จะทำให้แม่ลออต้องอับอายและถูกสังคมรังเกียจ นายล้ำไม่เชื่อ พระยาภักดีจึงยื่นข้อเสนอให้เงินหนึ่งร้อยชั่ง นายล้ำก็ไม่รับ พระยาภักดีโกรธหยิบแส้หางม้าเพื่อจะฟาดนายล้ำ พอดีแม่ลออกลับมา และเข้ามาทักทายนายล้ำ และคุยถึงพ่อของเธอที่พระยาภักดีบอกว่าตายไปแล้ว ว่าเป็นคนดี ใครบอกว่าเป็นคนไม่ดีจะไม่ยอมเชื่อเด็ดขาด นายล้ำเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี จึงเปลี่ยนจาก ”ความเห็นแก่ตัว” เป็น ”ความเห็นแก่ลูก” จึงไม่บอกความจริง และได้มอบแหวนของแม่นวลฝากพระยาภักดีให้แก่แม่ลออเป็นของรับไหว้และพระยาภักดีได้มอบรูปถ่ายแม่ลออ ให้นายล้ำ นายล้ำก็ลาจากไปอย่างเงียบๆ
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีผีเสื้อสมุทร
ผู้แต่งเรื่องพระอภัยมณี สุนทรภู่ เริ่มแต่งในสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแต่งต่อในสมัยรัชกาลที่ 3 ตอนออกบวช
ลักษณะคำประพันธ์ กลอนนิทาน
ที่มาของเรื่อง สุนทรภู่ผูกเรื่องขึ้นเอง โดยนำเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมา หรืออ่านมาจากวรรณคดีไทยและวรรณคดีต่างชาติ มาผสมผสานเข้ากับเรื่องจริงที่ได้พบเห็น และเรื่องที่สุนทรภู่จินตนาการขึ้นอย่างกลมกลืน
พระอภัยมณีและศรีสุวรรณพระอนุชาเดินทางออกจากบ้านเมืองหลังถูกท้าวสุทัศน์เนรเทศเพราะโกรธพระโอรสที่ไปเรียนวิชาเป่าปี่และกระบี่กระบองไม่สมกับที่เป็นโอรสกษัตริย์ ทั้งสองเดินทางมาพบกับพราหมณ์ วิเชียร โมรา สานน พราหมณ์ทั้ง 3 แปลกใจที่พระอภัยมณี เลือกเรียนวิชาปี่ พระอภัยจึงเป่าปี่อวดอานุภาพของเพลงปี่ ทำให้พราหมณ์ทั้งสามและศรีสุวรรณหลับไป ขณะนั้นนางผีเสื้อสมุทรได้ฟังเสียงปี่และหลงใหลรูปโฉมพระอภัยมณี จึงได้ใช้ฤทธิ์จับตัวพระอภัยมณีไปอยู่ในถ้ำ และนางได้แปลงกายเป็นหญิงงาม
ลักษณะคำประพันธ์ กลอนนิทาน
ที่มาของเรื่อง สุนทรภู่ผูกเรื่องขึ้นเอง โดยนำเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมา หรืออ่านมาจากวรรณคดีไทยและวรรณคดีต่างชาติ มาผสมผสานเข้ากับเรื่องจริงที่ได้พบเห็น และเรื่องที่สุนทรภู่จินตนาการขึ้นอย่างกลมกลืน
พระอภัยมณีและศรีสุวรรณพระอนุชาเดินทางออกจากบ้านเมืองหลังถูกท้าวสุทัศน์เนรเทศเพราะโกรธพระโอรสที่ไปเรียนวิชาเป่าปี่และกระบี่กระบองไม่สมกับที่เป็นโอรสกษัตริย์ ทั้งสองเดินทางมาพบกับพราหมณ์ วิเชียร โมรา สานน พราหมณ์ทั้ง 3 แปลกใจที่พระอภัยมณี เลือกเรียนวิชาปี่ พระอภัยจึงเป่าปี่อวดอานุภาพของเพลงปี่ ทำให้พราหมณ์ทั้งสามและศรีสุวรรณหลับไป ขณะนั้นนางผีเสื้อสมุทรได้ฟังเสียงปี่และหลงใหลรูปโฉมพระอภัยมณี จึงได้ใช้ฤทธิ์จับตัวพระอภัยมณีไปอยู่ในถ้ำ และนางได้แปลงกายเป็นหญิงงาม
พระอภัยทราบดีว่าหญิงที่อยู่ด้วยเป็นยักษ์แต่ก็ไม่สามารถความต้องการของนางได้ จึงจำใจเป็นสามีของนาง และให้นางสัญญาว่าจะไม่จับพระองค์กินเป็นอาหาร พระอภัยมณีครองคู่กับนางผีเสื้อจนมีบุตรคนหนึ่งชื่อ สินสมุทร พระอภัยมณีเลี้ยงดูสินสมุทรจนอายุแปดปี วันหนึ่งสินสมุทรหนีออกไปเที่ยวนอกถ้ำและได้จับเงือกเฒ่ามาตนหนึ่ง พระอภัยช่วยชีวิตเงือกเฒ่าและขอความช่วยเหลือจากเงือกเฒ่า เงือกเฒ่าบอกตำแหน่งที่อยู่ของถ้ำและแนะนำให้หนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร โดยให้พระอภัยมณีลวงนางผีเสื้อให้ไปอดอาหารจำศีลสะเดาะเคราะห์ เพื่อให้นางผีเสื้ออ่อนแรง พระอภัยมณีหนีพร้อมกับสินสมุทร โดยมีเงือกเฒ่า เมียและลูกสาวคอยช่วยเหลือ นางผีเสื้อติดตามมาทันและได้จับเงือกเฒ่า และเมียกินเป็นอาหาร แต่นางเงือกก็สามารถพาพระอภัยมณีขึ้นเกาะแก้วพิสดารได้ สำเร็จ นางผีเสื้อไม่สามารถเข้าเขตเกาะได้เพราะฤทธิ์ของพระฤๅษี นางได้แต่เฝ้ารออยู่รอบเกาะ
พระบรมราโชวาท
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2428
พระราชทานแก่ พระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ ที่เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ คือ
พระราชทานแก่ พระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ ที่เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ คือ
- พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ ต่อมาดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงจันทบุรีนฤนาถ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี ทรงเป็นต้นราชสกุล กิติยากร
- พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ต่อมาดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงวางรากฐานกฎหมายไทยให้ทักเทียมอารยประเทศ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้รับยกย่องว่าทรงเป็นพระบิดาของวงการ กฎหมายไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน
- พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม ต่อมาทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงปราจิณกิติบดี ทรงดำรงตำแหน่งราชเลขาธิการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นต้นราชสกุล ประวิตร
- พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ต่อมาทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงวางรากฐานของกองทัพบกไทย ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ทรงเป็นต้นราชสกุล จิรประวัติ
ลักษณะคำประพันธ์ เป็นจดหมายร้อยแก้ว และใช้เทศนาโวหาร
แนวคิด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงเล็งเห็นว่า“การศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ” พระองค์จึงทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงพระราชหัตถเลขา สั่งสอนพระโอรสทุกพระองค์ไม่ให้ถือตัวว่าเป็นเจ้า ใช้จ่ายอย่างประหยัด ขยันหมั่นเพียรศึกษา หาความรู้ ไม่หลงตัวว่าเป็นนักเรียนนอก ไม่ลืมภาษาไทยและความเป็นไทย เพื่อจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศและถ่ายทอดความรู้นั้นเป็นภาษาไทยให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด แก่ประเทศชาติสืบต่อไป
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งสอนพระราชโอรสดังต่อไปนี้
1. มุ่งหมายให้ได้วิชาความรู้ ไม่ใช่ได้เกียรติยศชื่อเสียง จึงมิให้ถือตัวไว้ยศว่าเป็นเจ้า เพราะ
- อาจทำให้น้อยหน้าเพราะไม่ได้รับการยกย่องเต็มที่เหมือนอยู่ที่ประเทศไทย
- เป็นเจ้า ต้องรักษายศศักดิ์จะทำอะไรก็ต้องระวังทุกอย่าง เพราะคนอื่นสนใจ
- ซื้อจ่ายอะไรก็จะแพงกว่าคนสามัญเพราะเขาถือว่ามั่งมี
- ไม่มีอำนาจหรือสิทธิพิเศษใดในต่างบ้านต่างเมือง
2. เงินที่ใช้ในการศึกษาเล่าเรียนเป็นเงินพระคลังข้างที่ เพราะ
- ถือว่าการให้การศึกษาเป็นทรัพย์มรดกที่ประเสริฐกว่าทรัพย์สินเงินทอง
- ไม่เป็นที่ติเตียนในกรณีที่ลูกไม่เฉลียวฉลาด
- เงินพระคลังข้างที่แม้เป็นส่วนหนึ่งของเงินแผ่นดินแต่ก็เป็นเงินส่วนตัวสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
3. การสนองคุณพ่อคือ การอุตสาหะเล่าเรียนด้วยความเพียร เพื่อจะได้มีโอกาสใช้ความรู้สติปัญญาทำการให้เป็นคุณแก่บ้านเมืองของตัวและโลกที่ตัวมาเกิด
4. อย่าถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน แล้วประพฤติชั่ว ทำผิดจะต้องรับโทษทันที จงอ่อนน้อม ว่าง่ายสอนง่าย ละมิจฉาทิฐิ ละความชั่ว ทำความดีเสมอ
5. ให้ใช้จ่ายอย่างเขม็ดแขม่ประหยัด ถ้ามีหนี้จะถูกลงโทษ ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งจำเป็น ห้ามอวดมั่งมี ให้คิดว่าเงินที่ใช้เป็นเงินของราษฎร
6. ต้องเรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ให้แม่นยำชัดเจนคล่องแคล่วจนแต่งหนังสือได้อย่างน้อย 2 ภาษา และวิชาเลข
- อย่าลืมภาษาไทย ต้องแปลความรู้จากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยได้
- ต้องเขียนจดหมายภาษาต่างประเทศหนึ่งฉบับ แปลไทย 1 ฉบับอย่างน้อยเดือนละครั้ง
- อย่ากลัวว่าจะแปลผิด ถ้าผิดจะแก้ไข แล้วจดจำไว้ใช้ให้ถูกต่อไป
7. ผู้ดูแลคือ อา กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการอยู่ในกรุงเทพฯ ผู้ดูแลที่ต่างประเทศ คือ ราชทูต
แนวคิด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงเล็งเห็นว่า“การศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ” พระองค์จึงทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงพระราชหัตถเลขา สั่งสอนพระโอรสทุกพระองค์ไม่ให้ถือตัวว่าเป็นเจ้า ใช้จ่ายอย่างประหยัด ขยันหมั่นเพียรศึกษา หาความรู้ ไม่หลงตัวว่าเป็นนักเรียนนอก ไม่ลืมภาษาไทยและความเป็นไทย เพื่อจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศและถ่ายทอดความรู้นั้นเป็นภาษาไทยให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด แก่ประเทศชาติสืบต่อไป
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งสอนพระราชโอรสดังต่อไปนี้
1. มุ่งหมายให้ได้วิชาความรู้ ไม่ใช่ได้เกียรติยศชื่อเสียง จึงมิให้ถือตัวไว้ยศว่าเป็นเจ้า เพราะ
- อาจทำให้น้อยหน้าเพราะไม่ได้รับการยกย่องเต็มที่เหมือนอยู่ที่ประเทศไทย
- เป็นเจ้า ต้องรักษายศศักดิ์จะทำอะไรก็ต้องระวังทุกอย่าง เพราะคนอื่นสนใจ
- ซื้อจ่ายอะไรก็จะแพงกว่าคนสามัญเพราะเขาถือว่ามั่งมี
- ไม่มีอำนาจหรือสิทธิพิเศษใดในต่างบ้านต่างเมือง
2. เงินที่ใช้ในการศึกษาเล่าเรียนเป็นเงินพระคลังข้างที่ เพราะ
- ถือว่าการให้การศึกษาเป็นทรัพย์มรดกที่ประเสริฐกว่าทรัพย์สินเงินทอง
- ไม่เป็นที่ติเตียนในกรณีที่ลูกไม่เฉลียวฉลาด
- เงินพระคลังข้างที่แม้เป็นส่วนหนึ่งของเงินแผ่นดินแต่ก็เป็นเงินส่วนตัวสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
3. การสนองคุณพ่อคือ การอุตสาหะเล่าเรียนด้วยความเพียร เพื่อจะได้มีโอกาสใช้ความรู้สติปัญญาทำการให้เป็นคุณแก่บ้านเมืองของตัวและโลกที่ตัวมาเกิด
4. อย่าถือตัวว่าเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน แล้วประพฤติชั่ว ทำผิดจะต้องรับโทษทันที จงอ่อนน้อม ว่าง่ายสอนง่าย ละมิจฉาทิฐิ ละความชั่ว ทำความดีเสมอ
5. ให้ใช้จ่ายอย่างเขม็ดแขม่ประหยัด ถ้ามีหนี้จะถูกลงโทษ ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งจำเป็น ห้ามอวดมั่งมี ให้คิดว่าเงินที่ใช้เป็นเงินของราษฎร
6. ต้องเรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ให้แม่นยำชัดเจนคล่องแคล่วจนแต่งหนังสือได้อย่างน้อย 2 ภาษา และวิชาเลข
- อย่าลืมภาษาไทย ต้องแปลความรู้จากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยได้
- ต้องเขียนจดหมายภาษาต่างประเทศหนึ่งฉบับ แปลไทย 1 ฉบับอย่างน้อยเดือนละครั้ง
- อย่ากลัวว่าจะแปลผิด ถ้าผิดจะแก้ไข แล้วจดจำไว้ใช้ให้ถูกต่อไป
7. ผู้ดูแลคือ อา กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรประการอยู่ในกรุงเทพฯ ผู้ดูแลที่ต่างประเทศ คือ ราชทูต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น